ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"การนอน" วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยเพิ่ม performance นักวิ่ง

การนอนหลับพักผ่อนเป็นหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการช่วยเพิ่ม Running Performance เเต่ก็เป็นสิ่งที่นักวิ่งหลายคนมักมองข้าม หรือไม่ก็มีปัญหาในการนอนหลับพักผ่อน

 
การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้เกิดสภาวะขาดนอนหลับ (Sleep deprivation) ส่งผลให้การรีดเอา Performance นักวิ่งลดลง สมาธิในการรับรู้เเละสั่งการเเย่ลง เเละที่สำคัญ ทำให้เหนื่อยง่ายมากขึ้น 

ในวันที่ฝึกวิ่งหนัก เราเองก็ควรเพิ่มเวลานอนหลับพักผ่อนเพิ่มขึ้น อย่างเช่น วันที่ฝึกหนัก มีการฝึก Interval หรือการฝึกที่กินเวลาเกิน 60 นาทีขึ้นไป ก็ควรเพิ่มเวลานอนหลับเป็น 8-9 ชั่วโมง

ข้อดี-ข้อเสียของการนอนพักผ่อนที่เพียงพอเเละไม่เพียงพอ

- ช่วงเวลาที่นอนหลับพักผ่อน ร่างกายจะหลั่ง Growth Hormone ช่วยในการสร้างเเละซ้อมเเซมกล้ามเนื้อ

- ในกรณีที่อดหลับอดนอน ร่างกายจะหลัง Growth Hormone น้อยลง กล้ามเนื้อร่างกายเราก็จะอ่อนเเอ ฟื้นตัวช้าเเละบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น

- การนอนทำให้ร่างกายสร้างโปรตีน สร้างเซล์ใหม่ เเละซ่อมเเซมเนื้อเยื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน 

- การขาดนอนประกอบกับการฝึกวิ่งที่สะสมกันมา ร่างกายเราจะเริ่มอ่อนเเอลงเเละป่วยไข้ได้ง่ายขึ้น การวิ่งก็เเย่ลง ร่างกายมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นพลังงานได้น้อยลง เเละอาการ Hit the wall ก็จะมาถึง

- การขาดนอนยังทำให้เรามีอาการหิวโซมากขึ้นด้วย เกิดอาการกินมากขึ้น โอกาสอ้วนก็เกิดมากขึ้นตามมา   

ในวันที่รู้สึกเหนื่อยมาก โดยสาเหตุเพราะการฝึกฝน เเนะนำให้มีการนอนงีบระหว่างวันเพิ่มเติม สัก 30 นาที หรือ 90 นาที จะช่วยต่อลมหายใจให้เราได้อยู่พอควร 

ใครที่ฝึกหนักเเนะนำให้เลื่อนมาฝึกตอนเช้า หลังจบก็ควรมีการหยุดพัก เเละค่อยเริ่มดำเนินการใช้ชีวิต การทำงานต่อไป เเละตกค่ำคืนเข้านอน ให้บวกเวลานอนเพิ่มไป 90 นาที ให้การนอนมีคุณภาพมากขึ้น

เชื่อว่านักวิ่งทุกคนมีปัญหาในการนอนหลับ ยิ่งคนที่ฝึกหนักช่วงเย็น ถ้าไม่ทิ้งเวลาพักพอสมควร จะเกิดอาการ After burn ทำให้ร่างกาย Alert ตัวร้อนเเละนอนไม่หลับ ดังนั้นคำเเนะนำสำหรับมือใหม่ที่ออกฝึกวิ่ง เราเเนะนำให้ฝึกหนักช่วงเช้า เพื่อให้ระบบ Metabolism ทำงานดีตั้งเเต่เช้าจนจบวัน เเต่ในช่วงเย็นให้ฝึกเบาๆ

นักวิ่งวัยผู้ใหญ่ควรมีเวลานอนหลับประมาณ 7-9 ชั่วโมง เพื่อให้ได้เวลานอนตามนี้ ช่วงเย็นจึงควรมีการจัดเวลานอนหลับให้ชัดเจน ระวังเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนเเละปริมาณอาหาร เเนะนำว่าถ้ามีการกินมื้อดึก ก็ควรเว้นเวลาก่อนนอนสัก 2 ชั่วโมง

อ้างอิงจาก runningmagazine.ca

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีการ Drill แบบชาวเคนยา

การออกกำลังกายแบบ DRILL เป็นการออกกำลังกายที่สำคัญอย่างมากสำหรับนักวิ่ง เพราะการฝึก DRILL เป็นประจำจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อที่มีความสำคัญต่อการวิ่ง ทำให้การขับเคลื่อนร่างกายเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ และยังสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บที่เกิดขณะวิ่งได้อีกด้วย หากนักวิ่งต้องการเพิ่มสมรรถนะในการวิ่งให้ดียิ่งขึ้น การฝึกออกกำลังกายด้วยวิธี DRILL จึงสามารถตอบโจทย์ได้ดีที่สุด เรามาดูกันดีกว่าว่าการฝึกออกกำลังกายแบบ DRILL แบบชาวเคนยา เพื่อเพิ่ มสมรรถนะความแข็งแรงของร่างกายให้พร้อมกับการวิ่งมากขึ้นนั้น มีท่าฝึกอย่างไรบ้าง     VDO Credit: Kenya Form Running

กล้ามเนื้องอสะโพก (Hip flexors) สำคัญไฉน?

กล้ามเนื้อที่ช่วยในการงอสะโพกมาด้านหน้า มีชื่อทางการแพทย์ว่า Hip Flexors เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณด้านหน้าของข้อสะโพก ได้แก่ Iliacus, Psoas, Rectus Femoris, Tensor Fascia Latae (TFL) และ Sartorius  เมื่อคุณนั่งเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะหดสั้นเข้ามา ทำให้หลายๆ คนพยายามยืดกล้ามเนื้องอสะโพกเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว กล้ามเนื้องอสะโพกกลับมีความสำคัญต่อการออกกำลังกายต่างๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น การวิ่ง  กล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะช่วยในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1. ช่วยในการยกขาขึ้นจากพื้น 2. ช่วยให้ขาเคลื่อนไปข้างหน้า 3. ช่วยในการเพิ่มความเร็วในขณะวิ่ง ถ้าท่านใดกำลังมีอาการปวดบริเวณสะโพกหรือขาหนีบ แนะนำให้ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการงอสะโพกทั้งหมด 4 ท่า ดังนี้ 1. Seated Marching 2. Bench Dip March Against Band 3. Heels Elevated Bridge March Against Band 4. Seated Leg Lifts ที่มา: The Strength Therapist

ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสำหรับนักวิ่ง

มีงานวิจัยในปัจจุบันได้ทำการศึกษาในนักวิ่งระยะปานกลางและระยะไกล โดยมีรายละเอียดดังนี้ มีประสบการณ์ในการวิ่งตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไป ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ Heavy resistance training / Explosive training / Plyometric training ฝึกเป็นเวลานานมากกว่า 4 สัปดาห์ ผลปรากฏว่านักวิ่งมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ดีขึ้น ดังนี้ ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในการวิ่ง เวลาที่ใช้ในการวิ่ง การใช้พลังงานโดยไม่ใช้ออกซิเจนในช่วงเริ่มวิ่ง รู้แบบนี้แล้ว นักวิ่งทั้งหลายต้องใส่โปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไว้ในตารางฝึกซ้อม โดยในวันนี้เรามีท่าบริหารมาแนะนำทั้งหมด 9 ท่า ดังนี้ Skater squat Side plank clam with band Single leg hamstring slider curl Single leg wall slide Single leg squat Lateral step down Sidelying hip abduction Single leg calf raise Single leg calf raise with knee bend อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ Blagrove RC, Howatson G, Hayes PR. Effects of Strength Training on the Physiological Determinants of Middle- and Long-Distance Running Performance: A Systematic Review. Sports Med. 2018;48(5)