ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายขณะวิ่งมาราธอน?

การวิ่งมาราธอนเป็นวิธีเผาผลาญไขมันที่ดีอย่างหนึ่ง แถมได้พัฒนาระบบภูมิต้านทานและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของจิตใจ แต่ด้วยระยะทางถึง 42.195K ร่างกายจะสะสมความเครียดจากการวิ่งไปมากเช่นกัน อย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกาย การทำงานหนักของไต และอาการปวดเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อช่วงล่าง หากคุณคิดจะลงวิ่งมาราธอน มี 7 สิ่งที่ควรคำนึงถึง

1. อุณหภูมิร่างกายจะพุ่งสูงขึ้น 

เมื่อเริ่มวิ่งไป อุณหภูมิร่างกายก็จะเริ่มเพิ่มสูงขึ้น ด้วยระยะทางที่ต้องวิ่งจนจบ อุณหภูมิอาจจะสูงถึง 38-39 °C (คล้ายๆ กับตอนเป็นไข้หวัดตัวร้อน) ดังนั้นการวางแผนดื่มน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกายขณะวิ่งและหลังจบจึงเป็นเรื่องสำคัญ

2. นิ้วเล็บช่ำและเล็บอาจหลุด 

เนื่องจากการวิ่งระยะไกล ฝ่าเท้าจะถูกถูไถไปมา บริเวณนิ้วเท้าจะชนผนังรองเท้าไปมา พอนานเข้า อาจจะเกิดเท้าพองหรือนิ้วเล็บม่วงช่ำและหลุดเลือดออกได้ ดังนั้นควรเลือกรองเท้าที่มีความฟิตพอดี ระวังการวิ่งขึ้นลงเนิน เพราะโอกาสนิ้วกระแทกผนังรองเท้าด้านหน้าจะมีสูง

3. ไตทำงานหนัก 

ผลการสำรวจของ YALE RESEARCHERS พบว่านักวิ่งมาราธอนมีการบาดเจ็บที่ไต ระยะเฉียบพลันระยะที่ 1 พบถึงร้อยละ 80 หลังจบการวิ่งมาราธอน แต่ทั้งนี้การฝึกวิ่งทั่วไปไม่ได้ก่อนให้เกิดอันตรายต่อไต แต่การวิ่งระยะทางไกลและการวางแผนดื่มน้ำที่แย่ จะทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น 

4. ร่างกายกำลังเผาผลาญไขมันจำนวนมหาศาล 

โดยร่างกายสามารถเผาผลาญได้ถึงชั่วโมงละ 600-800 KCAL เลยทีเดียว แต่ร่างกายสามารถสะสมพลังงานได้ที่ 500 กรัมของไกลโคเจน แปรเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ประมาณ 2,000 KCAL และทุก 1K ร่างกายจะเผาพลังงานไปประมาณ 100-125 KCAL ดังนั้นนักวิ่งจึงควรวางแผนการ REFUEL ให้ดี ถ้าไม่ดีก็อาจจะสัมผัสประสบการณ์วิ่งชนกำแพงก็ได้

5. อาการนอนไม่หลับกลางคืน 

หลังจบมาราธอน นักวิ่งหลายๆ คนอาจจะมีประสบการณ์นอนหลับยาก ตัวร้อนๆ อันเนื่องมาจากอาการ AFTER BURN และอาการที่ร่างกายได้หลั่งฮอร์โมนออกมามากมายระหว่างการวิ่ง (STRESS HORMONE CORTISOL)

6. ขาและช่วงล่างของร่างกาย (LOWER BODY) จะมีอาการปวดเมื่อย 

กล้ามเนื้อมีอาการตึงหรือเป็นตะคริว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างวิ่งและจบการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการปวดเมื่อยที่เรียกว่า DELAYED ONSET MUSCLE SORENESS หรือ DOMS ที่จะเกิดขึ้นหลังจบการวิ่งไปสัก 1 วันและจะหนักขึ้นสูงสุดใน 2-3 วัน

7. ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากมาย

ถ้าซ้อมถึง คุณก็จะจบอย่างสวยงาม ร่างกายไม่บาดเจ็บ ร่างกายมีการพัฒนาภูมิคุ้มกันร่างกายที่ดีขึ้น สุขภาพดีขึ้น และเพราะวินัยที่คุณใส่ลงไประหว่างการฝึกซ้อม จะช่วยให้ร่างกายมีระบบต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น ระบบเผาผลาญพลังงานที่ดีขึ้น ร่างกายเฟิร์ม ช่วยลดความเครียด ช่วยปรับและ MIND SET ให้เข้มแข็งขึ้น

การใช้ใจวิ่งไม่ใช่คาถาแก้ปัญหาเวลาลงวิ่งแข่งขันมาราธอน แต่การวางแผนฝึกซ้อมที่ดีจะช่วยให้เราจบได้อย่างสวยงามต่างหาก ทั้งเรื่องการวิ่งเพื่อฝึก CARDIO & ENDURANCE การฝึก STRENGTH TRAINING เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อ และโภชนาการ การหัดดื่มน้ำและรับประทานหาร เพื่อการ REFUEL ขณะวิ่งแข็งขัน ส่วนการใช้ใจวิ่ง การตั้งใจอย่างแน่วแน่นั้น ขอให้มาเป็นเรื่องสุดท้าย ร่างกายไม่พร้อม ฝืนวิ่งไปจะเกิดอาการบาดเจ็บ นอนพักฟื้นนานเป็นเดือนแทนแบบนี้ไม่ดีแน่ จริงมั๊ยคะ

ข้อมูลจาก BLOG.MAPMYRUN.COM

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวิ่งมีผลต่อผู้หญิงอย่างไร

นักวิ่งหญิงต้องอ่านเลย ข้อมูลที่คัดสรรเพื่อนักวิ่งหญิงโดยเฉพาะ การวิ่งมีผลต่อผู้หญิงอย่างไร ทั้งผลต่อหุ่นสวย ต่อผิวพรรณสว่างกระจ่างใส ต่อจิตใจที่นอยด์ง่ายอย่างพวกเรา มีคำตอบในโพสต์นี้ อ่านแล้วคือดี สวยสตรอง ! แต่ละหัวข้อมีลิงค์ขุดต่อถ้าสนใจ  ■ 1. วิ่งแล้วผิวจะดีขึ้นมาก ต่อเรื่องผิวพรรรณแล้ว ผู้หญิงดูแลเป็นพิเศษ การวิ่งต่อเนื่องครั้งละ 45 นาที ช่วยเรื่องผิวพรรณได้ดีมาก เมื่อร่างกายอุณหภูมิอุ่นขึ้น มีเหงื่ออออก เหงื่อจะช่วยช่วยขับของเสีย สารพิษ และไขมันที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนังออกมา ช่วยชำระให้ผิวพรรณสะอาดจากภายในเลยล่ะ ผิวที่ดูหมองจากสารพิษและไขมัน จะดูเปล่งปลั่งกระจ่างใสขึ้นมาเลย (ที่มา : http://bit.ly/2dacHIj ) ■ 2. วิ่งรับเอนโดฟินน์สารแห่งความสุข นอยด์ อ่อนไหว เปราะบาง สุขภาพจิตถดถอย อารมณ์แปรปรวนง่าย อาร์ทตัวแม่ การวิ่งอย่างน้อย 30 นาทีช่วยให้ผู้หญิงหลั่งสารเอนโดฟินน์สารแห่งความสุข ช่วยสลายความขุ่นมัว  เมื่อทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 4 วัน จะทำให้ปริมาณความเครียดสะสมลดลงอย่างเห็นได้ชัด Worry free กันเลยทีเดียว (ที่มา: http://bit.ly/2tzMauY ) ■ 3. ผู้หญิงวิ่งเร็วช่วงไหน ผลการศึกษาจากส...

แกว่งแขนยังไง ไม่ให้เหนื่อยเร็ว

มาเรียนรู้เทคนิคเล็กๆ จากการแกว่งแขนที่ถูกต้อง จะช่วยให้เราวิ่งไม่เหนื่อยเร็ว ...  

วิ่งขณะท้องว่าง “Fasted Running”

ถ้าพูดถึงเรื่องช่วงเวลาที่เราออกไปวิ่งกัน ส่วนใหญ่แล้วก็คงไม่เป็นช่วงเช้าก็ต้องช่วงเย็นล่ะถูกไหมครับ เพราะหากออกไปตอนกลางวันที่แดดร้อนเปรี้ยงแบบบ้านเราอย่างนี้ ร่างกายไม่น่าจะต่อต้านความร้อนทั้งจากภายนอกและภายในได้อย่างแน่นอน (ถ้าไม่ได้หนีไปวิ่งในฟิตเนสที่แอร์เย็นฉ่ำล่ะก็นะ) ทีนี้เวลาเราออกไปวิ่งในตอนเช้าตรู่หลังจากตื่นนอนขึ้นมา เคยสงสัยไหมว่าร่างกายเราจะมีปัญหาอะไรไหม เราลองไปหาคำตอบจากบทความจาก Medium ที่พูดถึงเรื่องกระเพาะว่างๆ ในตอนที่เราออกไปวิ่งในตอนเช้า และรู้หรือไม่ว่าการออกไปวิ่งตอนเช้า มีชื่อเรียกด้วยนะ “Fasted Running” คงแทบจะทุกคนที่ออกไปวิ่งตอนเช้านะครับ ที่ออกไปวิ่งก่อนแล้วค่อยกลับมากินมื้อเช้า ซึ่งนั่นหมายความว่าในท้องของเราก็คงจะไม่มีอะไรให้สามารถย่อยและดึงพลังงานออกมาใช้ในระหว่างวิ่ง คำถามที่น่าชวนคิดก็คือ แล้วอย่างงี้ร่างกายเราเอาพลังงานมาจากไหน ว่ากันถึงพลังงานที่ร่างกายเอามาใช้ ก็ต้องพูดถึงความรู้ที่เราเรียนกันมาตั้งแต่สมัยวัยรุ่น คือ “ATP หรือ Adenosine Triphosphate” ที่เป็นกระบวนการที่ร่างกายใช้ในการเก็บและนำพลังงานออกมาใช้ ซึ่งจะมีการเก็บไว้ในหลายรูปแบบเพื่อให้...