ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ฝึกหายใจ แบบนักวิ่ง

บางคนคิดว่าตลกแหละ แค่เรื่องการหายใจใครๆ ก็หายใจมาตั้งแต่เกิดแล้ว ทำไมต้องเอามาพูดอีก แต่การวิ่งออกกำลังกายจริงๆ แล้ว ต้องฝึกการหายใจด้วย และคำถามยอดฮิต คือ

- ฝึกหายใจยังไงไม่ให้เหนื่อย

- เวลาวิ่งต้องหายใจยังไง

จะฝึกหายใจขณะวิ่งให้ง่าย มี 3 อย่างที่นักวิ่งต้องเข้าใจ จึงจะช่วยพัฒนาการหายใจขณะวิ่งได้ดีขึ้น ก่อนจะไปดูสิ่งสำคัญทั้ง 3 เรามาเคลียร์รูปแบบการวิ่งก่อน

• วิ่งจ๊อกสบายๆ ขอเรียกว่า Easy run

• วิ่งเร็วขึ้นมาหน่อยเริ่มที่จะคุยน้อยลง แต่ยังคุยได้ขอเรียกว่า Long run

• วิ่งเร็วขึ้นมาอีกพอสมควร คุยไม่ได้ละ คุยแล้วความเร็วตก หรือ หายใจไม่ทัน ขอเรียกว่า Tempo run

• วิ่งเร็วมากๆ ไม่มีการคุยกันเลย ตั้งใจวิ่งอย่างเดียว ขอเรียกว่า Speed run

ถ้าแยกรูปแบบการวิ่งออกมา 4 ลักษณะ แบบนี้นักวิ่งน่าจะอยากรู้ว่า ถ้าวิ่งแบบ Long run และ Tempo run จะต้องฝึกหายใจอย่างไร ถ้าวิ่งแบบ Speed run มีการหายใจที่แตกต่างจากการวิ่งชนิดอื่นอย่างไร ไปดูกัน

 

จำไว้ว่า "ขณะวิ่ง" ถ้าวิ่งช้าให้มุ่งไปที่การหายใจให้ลึกเท่าที่ทำได้ โดยใช้การเกร็งหน้าท้อง

ส่วนถ้าฝึก Speed run เช่น โปรแกรม Interval ที่ยากๆ ให้หายใจเข้าทางจมูกและปาก แต่ส่วนใหญ่ผ่านทางปาก นักวิ่งต้องทดการหายใจที่ลึกลงช่องท้องให้มีความหลากหลาย

จังหวะการหายใจที่แตกต่างกันมีความเหมาะสมของนักวิ่งแต่ละคนต่างกันเช่นกัน บางคนสามารถหายใจลงลึกได้มากกว่าอีกคน บางคนอาจจต้องใช้การหายใจตื้นกว่า จำนวนครั้งมากกว่า

ขอให้เลือกจังหวะที่นักวิ่งรู้สึกสะดวกในการหายใจมากที่สุด เมื่อหาจังหวะที่ถูกต้องได้แล้ว ให้จดจำไว้ และทำการฝึกให้บ่อยครั้ง และจะพบว่าเทคนิคการหายใจที่ดีที่สุดจะพัฒนาด้วยตัวเองเมื่อฝึกซ้ำๆ 

การหายใจมี 2 รูปแบบ

• รูปแบบที่ 1 หายใจลึกด้วยหน้าท้อง
• รูปแบบที่ 2 หายใจตื้นด้วยหน้าอก

ขณะที่วิ่งนักวิ่งควรฝึกหายใจลึกด้วยหน้าท้อง หรือ เรียกอีกอย่างว่า หายใจด้วยกระบังลม ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการนำเอาออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้มากที่สุด ทำให้เกิดการพัฒนาค่า VO2 Max มากกว่าการหายใจตื้นด้วยหน้าอกและไหล่

นักวิ่งต้องควบคุมไม่ให้หายใจตื้นและสั้น การหายใจยาวและลึกจะทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยน ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่สมบูรณ์

* การดื่มน้ำหรืออาหารที่มากเกินไป จะมีผลทำให้นักวิ่งไม่สามารถหายใจลึกด้วยหน้าท้อง

การหายใจลึกจะทำให้ออกซิเจนลงไปด้านล่างของปอด ทำให้ออกซิเจนอยู่ในปอดนานขึ้นเพิ่มโอกาสการแลกเปลี่ยนก๊าซ เพื่อนำไปผลิตเป็นพลังงานใช้ในขณะวิ่ง และเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกายด้วย 

ขั้นตอนการฝึกหายใจด้วยหน้าท้อง

ก่อนที่จะไปฝึกหายใจขณะวิ่ง นักวิ่งควรเรียนรู้เทคนิคการหายใจด้วยหน้าท้องก่อน

1. นอนหงายลงบนพื้น ชันเข่าขึ้นมาจนสามารถวางฝ่าเท้าได้สบาย วางแขนข้างลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้นเพดาน

2. วางหนังสือเล่มบางๆ ไม่ใหญ่มากลงบนหน้าท้อง

3. หายใจเข้าทางจมูกให้ลึก และหายใจออกให้ยาว จนเกือบจะสุดลมหายใจ ทำซ้ำต่อเนื่องจนรู้สึกถึงจังหวะการหายใจที่สม่ำเสมอ 15-20 ครั้ง

4. ให้สังเกตว่าหนังสือที่วางไว้ที่หน้าท้อง ขยับสูงขึ้นเมื่อหายใจเข้าทางจมูก และหนังสือลดระดับลงต่ำกว่าปกติ เมื่อหายใจออกทางจมูก (ถ้าเลือกฝึกหายใจเข้าทางปาก และออกทางปาก ให้หายใจเข้าทางปากให้ลึกและหายใจออกทางปากให้ยาว)

5. ให้หายใจออกจนกระทั่งรู้สึกจะหมดลมหายใจ และหายใจเข้าให้ลึกจนรู้สึกนำเอาออกซิเจนเข้าปอดได้มากที่สุด

6. ปรับการหายใจเข้าและออกให้สมดุล จนกระทั่งรู้สึกถึงความสามารถในการควบคุมการหายใจด้วยหน้าท้องจนเป็นธรรมชาติ

ความแตกต่างระหว่างหายใจทางจมูก กับ หายใจทางปาก

เป้าหมายของนักวิ่งในการหายใจ คือ หายใจเอาออกซิเจนเข้า และหายใจคาร์บอนไดออกไซด์ออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ซึ่งในความเป็นจริงนักวิ่งไม่สามารถหายใจเอาออกซิเจนจำนวนมากเข้าทางจมูกได้เท่ากับที่หายใจทางปาก ดังนั้นถ้ามองจากเหตุผลเกี่ยวกับปริมาณที่จะนำเอาออกซิเจนเข้าร่างกาย พบว่าหายใจทางปากจะดีกว่าทางจมูก

ลมหายใจที่ผ่านทางจมูกจะเป็นการวิ่งในรูปแบบ Easy run หรือ Long run ที่ความเร็วไม่เร็วเกินกว่าความสามารถของนักวิ่ง แต่ถ้านักวิ่งต้องวิ่งในรูปแบบ Tempo run หรือ Interval run ที่มีแรงดันเกิดขึ้นในร่างกายค่อนข้างสูง การหายใจทางจมูกทีทำให้เกิดลมหายใจที่มีความอุ่นจะยิ่งทำให้ร่างกายเกิดความเครียดที่สูงขึ้น นักวิ่งควรจะต้องฝึกหายใจเข้าทางปากด้วย

ฝึกหายใจในขณะวิ่ง แบบ Easy run

จังหวะการหายใจที่เหมาะสมกับรูปแบบมีความแตกต่างกัน นักวิ่งต้องสามารถควบคุมการหายใจให้ตรงกับความเร็วที่มีความแตกต่างกัน

Easy run เป็นการวิ่งที่มีความหนักแบบเบา ดังนั้นนักวิ่งจะวิ่งสบายมาก แต่ถ้าจะฝึกหายใจไม่อยากให้วิ่งไปฟังเพลงไป หรือ วิ่งไปคุยไป นักวิ่งควรมีสมาธิในการควบคุมการหายใจในจังหวะ 3:3 คือ

- หายใจเข้า (Breathing in) ในขณะวิ่ง 3 ก้าว 

- หายใจออก (Breathing out) ในขณะวิ่ง 3 ก้าวต่อมา

ฝึกวิ่งและควบคุมการหายใจให้เป็น เหมือนสัญลักษณ์เลข 8 หรือ อินฟินิตี้ วนกลับไปกลับมาจนสามารถทำให้จังหวะการวิ่งสมดุลกับความลึกของการหายใจเข้า และความยาวของการหายใจออก


ฝึกหายใจในขณะวิ่ง แบบ Long run และ Tempo run

Long run เป็นการวิ่งที่มีความหนักแบบปานกลาง นักวิ่งอาจจะไม่เหนื่อย แต่จะล้าขามากกว่า ส่วน Tempo ค่อนมาทางหนักกว่า

ดังนั้นนักวิ่งควรมีสมาธิ และใช้ความรู้สึกขณะวิ่งควบคุมจังหวะการยกขาและแกว่งแขนให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ฝึกหายใจง่ายขึ้น

จังหวะที่เหมาะสมสำหรับฝึกหายใจ คือ 2:2 

- หายใจเข้า (Breathing in) ในขณะวิ่ง 2 ก้าว

- หายใจออก (Breathing out) ในขณะวิ่ง 2 ก้าว ต่อมา

อยากให้นักวิ่งทดลองการหายใจให้ลึกหลายๆ ระดับ เพื่อดูว่าต้องหายใจลึกขนาดไหนถึงจะควบคุมการหายใจได้ตลอดการวิ่ง โดยเฉพาะการฝึกวิ่ง Tempo อย่าตกใจถ้าหายใจไม่ทัน อย่าพยายามหายใจสั้นและหอบ เพราะจะไม่ช่วยให้เกิดพัฒนาต่อการวิ่ง  

ที่มาข้อมูล :
- You may be breathing inefficiently, especially when running https://trailmag.co.za/how-to-breathe/
- How To Conquer Rhythmic Breathing – A Guide For New Runners https://www.attendly.com/how-to-conquer-rhythmic-breathing…/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แกว่งแขนยังไง ไม่ให้เหนื่อยเร็ว

มาเรียนรู้เทคนิคเล็กๆ จากการแกว่งแขนที่ถูกต้อง จะช่วยให้เราวิ่งไม่เหนื่อยเร็ว ...  

ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสำหรับนักวิ่ง

มีงานวิจัยในปัจจุบันได้ทำการศึกษาในนักวิ่งระยะปานกลางและระยะไกล โดยมีรายละเอียดดังนี้ มีประสบการณ์ในการวิ่งตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไป ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ Heavy resistance training / Explosive training / Plyometric training ฝึกเป็นเวลานานมากกว่า 4 สัปดาห์ ผลปรากฏว่านักวิ่งมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ดีขึ้น ดังนี้ ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในการวิ่ง เวลาที่ใช้ในการวิ่ง การใช้พลังงานโดยไม่ใช้ออกซิเจนในช่วงเริ่มวิ่ง รู้แบบนี้แล้ว นักวิ่งทั้งหลายต้องใส่โปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไว้ในตารางฝึกซ้อม โดยในวันนี้เรามีท่าบริหารมาแนะนำทั้งหมด 9 ท่า ดังนี้ Skater squat Side plank clam with band Single leg hamstring slider curl Single leg wall slide Single leg squat Lateral step down Sidelying hip abduction Single leg calf raise Single leg calf raise with knee bend อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ Blagrove RC, Howatson G, Hayes PR. Effects of Strength Training on the Physiological Determinants of Middle- and Long-Distance Running Performance: A Systematic Review. Sports Med. 2018;48(5)

วิธีการ Drill แบบชาวเคนยา

การออกกำลังกายแบบ DRILL เป็นการออกกำลังกายที่สำคัญอย่างมากสำหรับนักวิ่ง เพราะการฝึก DRILL เป็นประจำจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อที่มีความสำคัญต่อการวิ่ง ทำให้การขับเคลื่อนร่างกายเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ และยังสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บที่เกิดขณะวิ่งได้อีกด้วย หากนักวิ่งต้องการเพิ่มสมรรถนะในการวิ่งให้ดียิ่งขึ้น การฝึกออกกำลังกายด้วยวิธี DRILL จึงสามารถตอบโจทย์ได้ดีที่สุด เรามาดูกันดีกว่าว่าการฝึกออกกำลังกายแบบ DRILL แบบชาวเคนยา เพื่อเพิ่ มสมรรถนะความแข็งแรงของร่างกายให้พร้อมกับการวิ่งมากขึ้นนั้น มีท่าฝึกอย่างไรบ้าง     VDO Credit: Kenya Form Running