ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

"การนอน" วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยเพิ่ม performance นักวิ่ง

การนอนหลับพักผ่อนเป็นหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการช่วยเพิ่ม Running Performance เเต่ก็เป็นสิ่งที่นักวิ่งหลายคนมักมองข้าม หรือไม่ก็มีปัญหาในการนอนหลับพักผ่อน     การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้เกิดสภาวะขาดนอนหลับ (Sleep deprivation) ส่งผลให้การรีดเอา Performance นักวิ่งลดลง สมาธิในการรับรู้เเละสั่งการเเย่ลง เเละที่สำคัญ ทำให้เหนื่อยง่ายมากขึ้น  ในวันที่ฝึกวิ่งหนัก เราเองก็ควรเพิ่มเวลานอนหลับพักผ่อนเพิ่มขึ้น อย่างเช่น วันที่ฝึกหนัก มีการฝึก Interval หรือการฝึกที่กินเวลาเกิน 60 นาทีขึ้นไป ก็ควรเพิ่มเวลานอนหลับเป็น 8-9 ชั่วโมง ข้อดี-ข้อเสียของการนอนพักผ่อนที่เพียงพอเเละไม่เพียงพอ - ช่วงเวลาที่นอนหลับพักผ่อน ร่างกายจะหลั่ง Growth Hormone ช่วยในการสร้างเเละซ้อมเเซมกล้ามเนื้อ - ในกรณีที่อดหลับอดนอน ร่างกายจะหลัง Growth Hormone น้อยลง กล้ามเนื้อร่างกายเราก็จะอ่อนเเอ ฟื้นตัวช้าเเละบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น - การนอนทำให้ร่างกายสร้างโปรตีน สร้างเซล์ใหม่ เเละซ่อมเเซมเนื้อเยื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน  - การขาดนอนประกอบกับการฝึกวิ่งที่สะสมกันมา ร่างกายเราจะเริ่มอ่อนเเอลงเเละป่วยไข้ได้ง่
โพสต์ล่าสุด

จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายขณะวิ่งมาราธอน?

การวิ่งมาราธอนเป็นวิธีเผาผลาญไขมันที่ดีอย่างหนึ่ง แถมได้พัฒนาระบบภูมิต้านทานและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของจิตใจ แต่ด้วยระยะทางถึง 42.195K ร่างกายจะสะสมความเครียดจากการวิ่งไปมากเช่นกัน อย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกาย การทำงานหนักของไต และอาการปวดเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อช่วงล่าง หากคุณคิดจะลงวิ่งมาราธอน มี 7 สิ่งที่ควรคำนึงถึง 1. อุณหภูมิร่างกายจะพุ่งสูงขึ้น  เมื่อเริ่มวิ่งไป อุณหภูมิร่างกายก็จะเริ่มเพิ่มสูงขึ้น ด้วยระยะทางที่ต้องวิ่งจนจบ อุณหภูมิอาจจะสูงถึง 38-39 °C (คล้ายๆ กับตอนเป็นไข้หวัดตัวร้อน) ดังนั้นการวางแผนดื่มน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกายขณะวิ่งและหลังจบจึงเป็นเรื่องสำคัญ 2. นิ้วเล็บช่ำและเล็บอาจหลุด  เนื่องจากการวิ่งระยะไกล ฝ่าเท้าจะถูกถูไถไปมา บริเวณนิ้วเท้าจะชนผนังรองเท้าไปมา พอนานเข้า อาจจะเกิดเท้าพองหรือนิ้วเล็บม่วงช่ำและหลุดเลือดออกได้ ดังนั้นควรเลือกรองเท้าที่มีความฟิตพอดี ระวังการวิ่งขึ้นลงเนิน เพราะโอกาสนิ้วกระแทกผนังรองเท้าด้านหน้าจะมีสูง 3. ไตทำงานหนัก  ผลการสำรวจของ YALE RESEARCHERS พบว่านักวิ่งมาราธอนมีการบาดเจ็บที่ไต ระยะเฉียบพลันระยะที่ 1 พบถึงร้อยละ 80 ห

ชุดรัดกล้ามเนื้อ (Compression apparel) ดีอย่างไร?

เสื้อรัดกล้ามเนื้อ, ถุงน่องรัดกล้ามเนื้อ, ถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อ ทั้งหมดนี้ที่เรามักเห็นกันบ่อยๆ เป็นชุดเสื้อผ้าในตระกูล “ชุดรัดกล้ามเนื้อ” หรือ Compression apparel      การออกเเบบชุดเสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อจะเน้นเนื้อผ้าที่สามารถหดตัวและยืดหยุ่นสูง ใส่เเล้วสามารถรัดกล้ามเนื้อเข้ารูปผู้ใช้ได้อย่างดี แต่ที่น่าสนใจคือการออกเเบบอยู่ภายใต้คอนการเเพทย์ เมื่อสวมใส่จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด (Blood flow) เเละน้ำเหลือง (Lymphatic flow) เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับวงการกีฬา ชุดรัดกล้ามเนื้อ (Compression apparel) คาดว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของนักกีฬาและช่วยเร่งการฟื้นตัวให้เร็วขึ้น *เรื่องน่ารู้ ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system) เป็นระบบลำเลียงที่ช่วยลำเลียงสารต่างๆให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด อย่าง สารอาหาร พวกกรดไขมันที่ดูดซึมจากลำไส้เล็ก เเม้ชุดรัดกล้ามเนื้อ (Compression apparel) จะถูกออกเเบบภายใต้คอนเซ็ปการเเพทย์ เเต่ผลที่ได้หลังจากการใช้ก็ยังไม่กระจ่างเเจ้ง ผู้เชียวชาญหลายๆ คนเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง เเต่ก็มีงานวิจัยออกมารับรองผลการใส่เหมือนกันว่า ชุดรัดกล้ามเนื้อสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเราได้ และได้บา

การดื่มน้ำในระหว่างออกกำลังกาย "สิ่งสำคัญ" ที่ต้องใส่ใจ

น้ำถือเป็นส่วนประกอบหลักของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของเซลล์และช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัวช่วยในปฏิกิริยาชีวเคมีและการสันดาปสารอาหารต่าง ๆ และช่วยลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ และระบายของเสียออกจากเซลล์ นอกจากนี้ยังช่วยช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ และยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบไหลเวียนเลือดอีกด้วย ปกติแล้วร่างกายจะมีการสูญเสียน้ำประมาณวันละ 2,300 มิลลิลิตร โดยแบ่งออกเป็นการสูญเสียน้ำทางปัสสาวะ 1,400 มิลลิลิตร ทางอุจจาระ 100 มิลลิลิตร และระเหยออกทางเหงื่อและลมหายใจ 800 มิลลิลิตร โดยประมาณ แต่จะมีน้ำเกิดขึ้นจากกระบวนการสลายไกลโคเจนเพียงวันละ 300 มิลิลิตรเท่านั้น ดังนั้น ร่างกายจึงจำเป็นจะต้องได้รับน้ำ จากภายนอกประมาณวันละ 2,000 มิลลิลิตร หรือประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน จึงจะเกิดความสมดุลของน้ำภายในร่างกาย แต่ในขณะที่ระหว่างการออกกำลังกายจะมีการสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากการระเหยของเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย แม้ว่าไตจะได้ทำหน้าที่ดูดน้ำกลับแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถชดเชยได้เพียงพอ พบว่าถ้าออกกำลังกายท่ามกลางอากาศที่ร

ฝึกหายใจ แบบนักวิ่ง

บางคนคิดว่าตลกแหละ แค่เรื่องการหายใจใครๆ ก็หายใจมาตั้งแต่เกิดแล้ว ทำไมต้องเอามาพูดอีก แต่การวิ่งออกกำลังกายจริงๆ แล้ว ต้องฝึกการหายใจด้วย และคำถามยอดฮิต คือ - ฝึกหายใจยังไงไม่ให้เหนื่อย - เวลาวิ่งต้องหายใจยังไง จะฝึกหายใจขณะวิ่งให้ง่าย มี 3 อย่างที่นักวิ่งต้องเข้าใจ จึงจะช่วยพัฒนาการหายใจขณะวิ่งได้ดีขึ้น ก่อนจะไปดูสิ่งสำคัญทั้ง 3 เรามาเคลียร์รูปแบบการวิ่งก่อน • วิ่งจ๊อกสบายๆ ขอเรียกว่า Easy run • วิ่งเร็วขึ้นมาหน่อยเริ่มที่จะคุยน้อยลง แต่ยังคุยได้ขอเรียกว่า Long run • วิ่งเร็วขึ้นมาอีกพอสมควร คุยไม่ได้ละ คุยแล้วความเร็วตก หรือ หายใจไม่ทัน ขอเรียกว่า Tempo run • วิ่งเร็วมากๆ ไม่มีการคุยกันเลย ตั้งใจวิ่งอย่างเดียว ขอเรียกว่า Speed run ถ้าแยกรูปแบบการวิ่งออกมา 4 ลักษณะ แบบนี้นักวิ่งน่าจะอยากรู้ว่า ถ้าวิ่งแบบ Long run และ Tempo run จะต้องฝึกหายใจอย่างไร ถ้าวิ่งแบบ Speed run มีการหายใจที่แตกต่างจากการวิ่งชนิดอื่นอย่างไร ไปดูกัน     จำไว้ว่า "ขณะวิ่ง" ถ้าวิ่งช้าให้มุ่งไปที่การหายใจให้ลึกเท่าที่ทำได้ โดยใช้การเกร็งหน้าท้อง ส่วนถ้าฝึก Speed run เช่น โปรแกรม Interval ที่ยากๆ ให้หายใจเ