ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิ่งขณะท้องว่าง “Fasted Running”

ถ้าพูดถึงเรื่องช่วงเวลาที่เราออกไปวิ่งกัน ส่วนใหญ่แล้วก็คงไม่เป็นช่วงเช้าก็ต้องช่วงเย็นล่ะถูกไหมครับ เพราะหากออกไปตอนกลางวันที่แดดร้อนเปรี้ยงแบบบ้านเราอย่างนี้ ร่างกายไม่น่าจะต่อต้านความร้อนทั้งจากภายนอกและภายในได้อย่างแน่นอน (ถ้าไม่ได้หนีไปวิ่งในฟิตเนสที่แอร์เย็นฉ่ำล่ะก็นะ) ทีนี้เวลาเราออกไปวิ่งในตอนเช้าตรู่หลังจากตื่นนอนขึ้นมา เคยสงสัยไหมว่าร่างกายเราจะมีปัญหาอะไรไหม เราลองไปหาคำตอบจากบทความจาก Medium ที่พูดถึงเรื่องกระเพาะว่างๆ ในตอนที่เราออกไปวิ่งในตอนเช้า และรู้หรือไม่ว่าการออกไปวิ่งตอนเช้า มีชื่อเรียกด้วยนะ “Fasted Running”


คงแทบจะทุกคนที่ออกไปวิ่งตอนเช้านะครับ ที่ออกไปวิ่งก่อนแล้วค่อยกลับมากินมื้อเช้า ซึ่งนั่นหมายความว่าในท้องของเราก็คงจะไม่มีอะไรให้สามารถย่อยและดึงพลังงานออกมาใช้ในระหว่างวิ่ง คำถามที่น่าชวนคิดก็คือ แล้วอย่างงี้ร่างกายเราเอาพลังงานมาจากไหน

ว่ากันถึงพลังงานที่ร่างกายเอามาใช้ ก็ต้องพูดถึงความรู้ที่เราเรียนกันมาตั้งแต่สมัยวัยรุ่น คือ “ATP หรือ Adenosine Triphosphate” ที่เป็นกระบวนการที่ร่างกายใช้ในการเก็บและนำพลังงานออกมาใช้ ซึ่งจะมีการเก็บไว้ในหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์การใช้พลังงานที่แตกต่างกันออกไป

ไกลโคเจนเป็นรูปแบบการสะสมพลังงานที่ได้จากคาร์โบไฮเดรตที่นำมาเก็บไว้ในกล้ามเนื้อ เมื่อเราออกวิ่ง ไกลโคเจนก็จะถูกนำมาใช้ควบคู่ไปกับแหล่งพลังงานในอีกรูปแบบหนึ่ง คือ “ไขมัน” ซึ่งสัดส่วนที่ร่างกายจะนำไกลโคเจนและไขมันออกมาใช้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการพลังงานของร่างกายในขณะนั้น หากร่างกายเราต้องการพลังงานอย่างมากในเวลาอันรวดเร็ว ไกลโคเจนก็จะถูกนำมาใช้มากกว่าไขมัน อาทิเช่น ในเวลาที่เราวิ่งในความเร็วที่สูงกว่าความเร็วระดับปกติ ในทางกลับกันหากเราวิ่งไม่เร็วหรือวิ่งในระดับที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องเค้นพลังงานออกมาใช้อย่างรวดเร็ว ไขมันก็จะสลับเป็นมาแหล่งพลังส่วนใหญ่ที่ร่างกายนำมาใช้ 

เรามาพูดถึงประโยชน์และผลกระทบของการออกไปวิ่งในขณะที่ท้องเรายังว่างที่เรียกว่า “Fasted Running” กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง เพราะการทำแบบนี้ร่างกายของเราจะตกอยู่ในสถานะการณ์ที่อาจจะไม่สามารถหาพลังงานจากไกลโคเจนมาใช้ได้ ซึ่งก็จะเสมือนเป็นการบังคับให้ร่างกายไปหาแหล่งพลังงานอื่นอย่างไขมันมาใช้

โดยถึงแม้ว่าการนำพลังงานจากไขมันมาใช้จะดึงพลังงานออกมาได้ไม่ทันใจเท่ากับพลังงานที่ได้จากไกลโคเจน แต่วิธีการนี้ก็มีประโยชน์คือ

1. เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายฝึกฝนการใช้พลังงานจากไขมัน ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกายสามารถดึงพลังงานจากไขมันมาใช้ได้ดีขึ้น
2. ลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่เกิดจากการสะสมของคอเลสเตอรอล
3. ลดโอกาสการเกิดความจุกเสียดที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร

ส่วนในแง่ของผลกระทบก็จะมี

1. การวิ่งโดยที่ร่างกายอยู่ในสภาวะขาดแคลนไกลโคเจนนานๆ อาจจะทำให้มวลกล้ามเนื้อของเราลดลงได้ อีกทั้งยังอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบการเผาพลานของร่างกายได้
2. อาจจะทำให้ร่างกายมีการฟื้นฟูตนเองที่ช้าลงได้
3. อาจจะส่งผลกระทบต่อการวิ่งที่ต้องใช้พลังานสูงอย่างการวิ่งที่เร็วกว่าระดับทั่วไปของเรา

โดยรวมแล้วก็อาจจะมองได้ว่าการที่เราบังคับให้ร่างกายต้องหาพลังงานที่จำเป็นต้องใช้มาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เสมือนเป็นการฝึกเพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บและจ่ายพลังงานในร่างกายเราไปด้วยในตัว อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรฝืนร่างกายของเรามากจนเกิดขีดจำกัดอยู่ดี เพราะถึงแม้ร่างกายเราจะมีการสะสมไขมันไว้เพื่อนำมาใช้ แต่หากว่าความต้องการพลังของเรามากเกินกว่าที่ระบบจ่ายพลังงานของเราจะสามารถหาพลังงานมาหล่อเลี้ยงเข้าไปให้ได้ทัน นั่นย่อมอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้

ฉะนั้นไม่ว่าเราจะวิ่งตอนเช้าหรือตอนเย็นก็ควรรับฟังสิ่งที่ร่างกายเราตอบสนองออกมา และประเมินความเสี่ยงหรือสัญญาณที่มันกำลังจะบอกให้ดี ในบางครั้งการฝึกเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้นั้น อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องบีบคั้นพลังงานในร่างกายออกมามากกว่าปกติ แต่หากเราค่อยๆ ฝึกฝนอย่างระมัดระวัง เราก็น่าจะปลอดภัยและพัฒนาต่อไปได้ ก็หวังว่านักวิ่งทุกคนจะมีหุ่นดี สุขภาพแข็งแรงกันทุกคนนะครับ

ที่มา: https://medium.com/runners-life/is-it-good-to-run-on-an-empty-stomach-2ea4fccb7004

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แกว่งแขนยังไง ไม่ให้เหนื่อยเร็ว

มาเรียนรู้เทคนิคเล็กๆ จากการแกว่งแขนที่ถูกต้อง จะช่วยให้เราวิ่งไม่เหนื่อยเร็ว ...  

ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสำหรับนักวิ่ง

มีงานวิจัยในปัจจุบันได้ทำการศึกษาในนักวิ่งระยะปานกลางและระยะไกล โดยมีรายละเอียดดังนี้ มีประสบการณ์ในการวิ่งตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไป ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ Heavy resistance training / Explosive training / Plyometric training ฝึกเป็นเวลานานมากกว่า 4 สัปดาห์ ผลปรากฏว่านักวิ่งมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ดีขึ้น ดังนี้ ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในการวิ่ง เวลาที่ใช้ในการวิ่ง การใช้พลังงานโดยไม่ใช้ออกซิเจนในช่วงเริ่มวิ่ง รู้แบบนี้แล้ว นักวิ่งทั้งหลายต้องใส่โปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไว้ในตารางฝึกซ้อม โดยในวันนี้เรามีท่าบริหารมาแนะนำทั้งหมด 9 ท่า ดังนี้ Skater squat Side plank clam with band Single leg hamstring slider curl Single leg wall slide Single leg squat Lateral step down Sidelying hip abduction Single leg calf raise Single leg calf raise with knee bend อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ Blagrove RC, Howatson G, Hayes PR. Effects of Strength Training on the Physiological Determinants of Middle- and Long-Distance Running Performance: A Systematic Review. Sports Med. 2018;48(5)...

การวิ่งมีผลต่อผู้หญิงอย่างไร

นักวิ่งหญิงต้องอ่านเลย ข้อมูลที่คัดสรรเพื่อนักวิ่งหญิงโดยเฉพาะ การวิ่งมีผลต่อผู้หญิงอย่างไร ทั้งผลต่อหุ่นสวย ต่อผิวพรรณสว่างกระจ่างใส ต่อจิตใจที่นอยด์ง่ายอย่างพวกเรา มีคำตอบในโพสต์นี้ อ่านแล้วคือดี สวยสตรอง ! แต่ละหัวข้อมีลิงค์ขุดต่อถ้าสนใจ  ■ 1. วิ่งแล้วผิวจะดีขึ้นมาก ต่อเรื่องผิวพรรรณแล้ว ผู้หญิงดูแลเป็นพิเศษ การวิ่งต่อเนื่องครั้งละ 45 นาที ช่วยเรื่องผิวพรรณได้ดีมาก เมื่อร่างกายอุณหภูมิอุ่นขึ้น มีเหงื่ออออก เหงื่อจะช่วยช่วยขับของเสีย สารพิษ และไขมันที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนังออกมา ช่วยชำระให้ผิวพรรณสะอาดจากภายในเลยล่ะ ผิวที่ดูหมองจากสารพิษและไขมัน จะดูเปล่งปลั่งกระจ่างใสขึ้นมาเลย (ที่มา : http://bit.ly/2dacHIj ) ■ 2. วิ่งรับเอนโดฟินน์สารแห่งความสุข นอยด์ อ่อนไหว เปราะบาง สุขภาพจิตถดถอย อารมณ์แปรปรวนง่าย อาร์ทตัวแม่ การวิ่งอย่างน้อย 30 นาทีช่วยให้ผู้หญิงหลั่งสารเอนโดฟินน์สารแห่งความสุข ช่วยสลายความขุ่นมัว  เมื่อทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 4 วัน จะทำให้ปริมาณความเครียดสะสมลดลงอย่างเห็นได้ชัด Worry free กันเลยทีเดียว (ที่มา: http://bit.ly/2tzMauY ) ■ 3. ผู้หญิงวิ่งเร็วช่วงไหน ผลการศึกษาจากส...