ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิธีฝึกช่วยให้ได้ 10K Sub1

Sub1 หรือ วิ่ง 10K ให้ได้ต่ำกว่า 60 นาที มี 5 รูปแบบการฝึกที่จะช่วยให้นักวิ่งทำได้ตามที่ต้องการ

1️. ฝึกวิ่งพื้นฐาน

ฝึกความหนัก(หัวใจ)ประมาณ 50-60% ของระยะวิ่ง และใน 1 สัปดาห์ ควรมีวันที่วิ่งยาวให้ได้ 12km อย่างน้อย 1 วัน ฝึกวิ่ง zone2 (อัตราเต้นหัวใจ 60-70%) เพื่อฝึกความทนทานพื้นฐานของร่างกาย ฝึกวิ่ง zone3 (อัตราเต้นหัวใจ 70-80%) เพื่อฝึกพื้นฐานความแข็งแรงของร่างกายและการหายใจ (ให้ฝึก zone2 มากกว่า zone3)

2️. ฝึกวิ่ง Speed Interval run

เพื่อฝึกใช้กล้ามเนื้อในการวิ่งเร็ว และควบคุมการหายใจในสภาวะ Anaerobic System (หายใจไม่ทันใช้) เช่น 

• 400 เมตร x 3 ชุด
• เพซความเร็ว 90% Max
• ระยะทางรวม 1.2K
• พักดื่มน้ำระหว่างชุด 3-5 นาที

หรือ 

• 800 เมตร x 2 ชุด
• เพซความเร็ว 80-90% Max
• ระยะทาง 1.6K
• พักดื่มน้ำระหว่างชุด 3-5 นาที

3️. ฝึกวิ่ง Tempo Run

เพื่อเพิ่มความสามารถของปอดในการรับออกซิเจน เพราะเมื่อนักวิ่งต้องการวิ่งเร็วขึ้น เช่น จากเพซ 7:00 จะพัฒนาไปที่เพซ 6:30 สิ่งที่สำคัญคือ ต้องทำให้ปอดมีความสามารถในการรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยฝึกประมาณ 20-30% ของระยะวิ่งทั้งหมด เช่น จากวิ่ง pace 6.0 ระยะะ 4 km ในสัปดาห์แรก จากนั้นเพิ่มระยะเป็น 5 km เป็น 6 km เรื่อยๆ ในสัปดาห์ถัดไปให้ถึง 10 km

4️. ฝึก Strength Training

เพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและหน้าท้อง จะช่วยให้นักวิ่ง Injury free หรือลดโอกาสบาดเจ็บจากการฝึกวิ่ง ดังนั้นการฝึก Strength Training กล้ามเนื้อขาและหน้าท้อง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่อง 6-7 สัปดาห์ ก่อนเข้าโปรแกรม 10K New PB

5️. ฝึก Cool down และ Recovery หลังวิ่ง

หลังจากฝึกวิ่งในทุกโปรแกรมไม่ว่าจะหนักหรือเบา นักวิ่งควรทำการ Cool down เช่น การเดินสบายๆ 5-10 นาที และควรยืดกล้ามเนื้อแบบค้าง เพื่อลดอาการล้าและความตึงของกล้ามเนื้อ ถ้ามีความล้าสะสมและนักวิ่งยังฝึกตามโปรแกรมความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บมีสูงมากตามไปด้วย

ทั้งนี้ ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ตามความสามารถของนักวิ่ง ***

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวิ่งมีผลต่อผู้หญิงอย่างไร

นักวิ่งหญิงต้องอ่านเลย ข้อมูลที่คัดสรรเพื่อนักวิ่งหญิงโดยเฉพาะ การวิ่งมีผลต่อผู้หญิงอย่างไร ทั้งผลต่อหุ่นสวย ต่อผิวพรรณสว่างกระจ่างใส ต่อจิตใจที่นอยด์ง่ายอย่างพวกเรา มีคำตอบในโพสต์นี้ อ่านแล้วคือดี สวยสตรอง ! แต่ละหัวข้อมีลิงค์ขุดต่อถ้าสนใจ  ■ 1. วิ่งแล้วผิวจะดีขึ้นมาก ต่อเรื่องผิวพรรรณแล้ว ผู้หญิงดูแลเป็นพิเศษ การวิ่งต่อเนื่องครั้งละ 45 นาที ช่วยเรื่องผิวพรรณได้ดีมาก เมื่อร่างกายอุณหภูมิอุ่นขึ้น มีเหงื่ออออก เหงื่อจะช่วยช่วยขับของเสีย สารพิษ และไขมันที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนังออกมา ช่วยชำระให้ผิวพรรณสะอาดจากภายในเลยล่ะ ผิวที่ดูหมองจากสารพิษและไขมัน จะดูเปล่งปลั่งกระจ่างใสขึ้นมาเลย (ที่มา : http://bit.ly/2dacHIj ) ■ 2. วิ่งรับเอนโดฟินน์สารแห่งความสุข นอยด์ อ่อนไหว เปราะบาง สุขภาพจิตถดถอย อารมณ์แปรปรวนง่าย อาร์ทตัวแม่ การวิ่งอย่างน้อย 30 นาทีช่วยให้ผู้หญิงหลั่งสารเอนโดฟินน์สารแห่งความสุข ช่วยสลายความขุ่นมัว  เมื่อทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 4 วัน จะทำให้ปริมาณความเครียดสะสมลดลงอย่างเห็นได้ชัด Worry free กันเลยทีเดียว (ที่มา: http://bit.ly/2tzMauY ) ■ 3. ผู้หญิงวิ่งเร็วช่วงไหน ผลการศึกษาจากส...

แกว่งแขนยังไง ไม่ให้เหนื่อยเร็ว

มาเรียนรู้เทคนิคเล็กๆ จากการแกว่งแขนที่ถูกต้อง จะช่วยให้เราวิ่งไม่เหนื่อยเร็ว ...  

วิ่งขณะท้องว่าง “Fasted Running”

ถ้าพูดถึงเรื่องช่วงเวลาที่เราออกไปวิ่งกัน ส่วนใหญ่แล้วก็คงไม่เป็นช่วงเช้าก็ต้องช่วงเย็นล่ะถูกไหมครับ เพราะหากออกไปตอนกลางวันที่แดดร้อนเปรี้ยงแบบบ้านเราอย่างนี้ ร่างกายไม่น่าจะต่อต้านความร้อนทั้งจากภายนอกและภายในได้อย่างแน่นอน (ถ้าไม่ได้หนีไปวิ่งในฟิตเนสที่แอร์เย็นฉ่ำล่ะก็นะ) ทีนี้เวลาเราออกไปวิ่งในตอนเช้าตรู่หลังจากตื่นนอนขึ้นมา เคยสงสัยไหมว่าร่างกายเราจะมีปัญหาอะไรไหม เราลองไปหาคำตอบจากบทความจาก Medium ที่พูดถึงเรื่องกระเพาะว่างๆ ในตอนที่เราออกไปวิ่งในตอนเช้า และรู้หรือไม่ว่าการออกไปวิ่งตอนเช้า มีชื่อเรียกด้วยนะ “Fasted Running” คงแทบจะทุกคนที่ออกไปวิ่งตอนเช้านะครับ ที่ออกไปวิ่งก่อนแล้วค่อยกลับมากินมื้อเช้า ซึ่งนั่นหมายความว่าในท้องของเราก็คงจะไม่มีอะไรให้สามารถย่อยและดึงพลังงานออกมาใช้ในระหว่างวิ่ง คำถามที่น่าชวนคิดก็คือ แล้วอย่างงี้ร่างกายเราเอาพลังงานมาจากไหน ว่ากันถึงพลังงานที่ร่างกายเอามาใช้ ก็ต้องพูดถึงความรู้ที่เราเรียนกันมาตั้งแต่สมัยวัยรุ่น คือ “ATP หรือ Adenosine Triphosphate” ที่เป็นกระบวนการที่ร่างกายใช้ในการเก็บและนำพลังงานออกมาใช้ ซึ่งจะมีการเก็บไว้ในหลายรูปแบบเพื่อให้...