ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชุดรัดกล้ามเนื้อ (Compression apparel) ดีอย่างไร?

เสื้อรัดกล้ามเนื้อ, ถุงน่องรัดกล้ามเนื้อ, ถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อ ทั้งหมดนี้ที่เรามักเห็นกันบ่อยๆ เป็นชุดเสื้อผ้าในตระกูล “ชุดรัดกล้ามเนื้อ” หรือ Compression apparel

 

 การออกเเบบชุดเสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อจะเน้นเนื้อผ้าที่สามารถหดตัวและยืดหยุ่นสูง ใส่เเล้วสามารถรัดกล้ามเนื้อเข้ารูปผู้ใช้ได้อย่างดี แต่ที่น่าสนใจคือการออกเเบบอยู่ภายใต้คอนการเเพทย์ เมื่อสวมใส่จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด (Blood flow) เเละน้ำเหลือง (Lymphatic flow) เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับวงการกีฬา ชุดรัดกล้ามเนื้อ (Compression apparel) คาดว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของนักกีฬาและช่วยเร่งการฟื้นตัวให้เร็วขึ้น

*เรื่องน่ารู้ ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system) เป็นระบบลำเลียงที่ช่วยลำเลียงสารต่างๆให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด อย่าง สารอาหาร พวกกรดไขมันที่ดูดซึมจากลำไส้เล็ก

เเม้ชุดรัดกล้ามเนื้อ (Compression apparel) จะถูกออกเเบบภายใต้คอนเซ็ปการเเพทย์ เเต่ผลที่ได้หลังจากการใช้ก็ยังไม่กระจ่างเเจ้ง ผู้เชียวชาญหลายๆ คนเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง เเต่ก็มีงานวิจัยออกมารับรองผลการใส่เหมือนกันว่า ชุดรัดกล้ามเนื้อสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเราได้ และได้บางส่วนก็มี

ใส่ชุดรัดกล้ามเนื้อเเล้ว วิ่งเร็วขึ้นหรือไม่?

การทำงานของชุดรัดกล้ามเนื้อจะเป็นการบีบรัดหลอดเลือด คล้ายๆ การบีบนวดเเล้วคลาย บังคับให้เลือดไหลเวียนผ่านเยอะขึ้น เมื่อมีการไหลเวียนผ่านเยอะ หมายความว่า จะมีสารอาหาร ออกซิเจน มาเลี้ยงเยอะขึ้น เเถมช่วยชะล้างเอาของเสียผ่านไป ด้วยหลักการทำงานอย่างนี้จึงคาดว่ากล้ามเนื้อเราจะมีพลังงานมาหล่อเลี้ยงเยอะขึ้น ทำให้ผลิตพลังงานและทำให้วิ่งเร็วมากขึ้น

มีงานวิจัยของ University of Newcastle ที่พยายามหาข้อสนับสนุนว่าการใส่ชุดรัดกล้ามเนื้อจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้สวมใส่ โดยให้ผู้เข้าทดลองทำการใส่ถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อ (compression sock) แต่พบว่าไม่มีผลที่เเสดงได้ชัดเจนว่าการใส่ถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้วิ่งเร็วขึ้น เเต่ก็มีข้อโต้เเย้งว่ามีการไหลเวียนอาหารมาส่งมากขึ้น กล้ามเนื้อน่าจะผลิตพลังงานได้เยอะขึ้นสิ แต่ประสิทธิภาพอาจจะเพิ่มขึ้นในปริมาณที่ยากจะสังเกตให้เห็นได้ชัดเจน เรียกว่าเพิ่มขึ้นมานิดหน่อย

สาเหตุที่ไม่เห็นผลว่าประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะนักวิ่งต้องรับน้ำหนักเพิ่มจากการใส่ถุงน่องรัดกล้ามเนื้อ (คู่หนึ่งร่าวๆ 85 กรัม เเต่เมื่อมีเหงื่ออาจะเพิ่มขึ้น) ก็ได้ เเต่โดยความคิดส่วนตัวของผู้เขียน คิดว่าการที่จะวิ่งเร็วขึ้นต้องขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อม การสร้างกล้ามเนื้อให้ผลิตพลังงาน และการฝึกเทคนิคการวิ่งเป็นหลัก

ใส่เเล้วสามารถลดอาการเมื่อยล้าได้

หลักการทำงานของชุดรัดกล้ามเนื้ออย่างเช่น ถุงเท้าหรือถุงน่องรัดกล้ามเนื้อ (Compression sock and calf sleeve) จะช่วยประคองให้กล้ามเนื้ออยู่กับที่กับทาง เวลาที่เราลงเท้าเวลาวิ่งจะเกิดเเรงสั่นไหวส่งขึ้นมาทำให้กล้ามเนื้อถูกเขย่าไปมา สิ่งนี้อาจจะเป็นเหตุให้เกิดอาการเมื่อยล้าหลังจบการออกกำลังกาย น่าดีใจที่การช่วยลดอาการเมื่อยล้ามีงานวิจัยรับรองโดย Massey University ใน Auckland เมื่อผู้ทดลองวิ่งระยะ 10 กิโลเมตร ( วิ่ง fast pace) พบว่า คนที่ใส่ถุงเท้าหลังจบการวิ่ง จะไม่มีอาการล้าให้เห็นในวันต่อมา แต่ 90% ของคนที่ไม่ใส่ ขาจะมีอาการเมื่อยล้าเเสดงให้เห็น

ช่วยเร่งการฟื้นฟู

หลังจบการออกกำลังกาย ให้ใส่ชุดรัดกล้ามเนื้อจะทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดเยอะขึ้น ช่วยเร่งการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ (recovery) ช่วยให้เลือดชะล้างของเสียออกจากเซล์ เเละนำสารอาหารมาเลี้ยงกล้ามเนื้อใหม่ ข้อดีอีกอย่างหนึ่งที่มีงานวิจัยรับรองอย่าง University of Exeter ที่ให้คนทดลองออกกำลังกายแบบ plyometric exercise ในจำนวน 1,2,3 และ 4 วัน แล้วสวมใส่ชุดรัดกล้ามเนื้อ พบว่าหลังจากใส่เป็นเวลา 24 ชั่วโมง การออกกำลังกายครั้งต่อไปจะมีประสิทธิภายมากขึ้นและลดอาการเมื่อยล้าลง

ที่มา http://running.competitor.com/2014/02/recovery/the-science-of-squeeze-how-compression-apparel-works_43385/4#bX3JfUtzPzKhjCzc.99

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แกว่งแขนยังไง ไม่ให้เหนื่อยเร็ว

มาเรียนรู้เทคนิคเล็กๆ จากการแกว่งแขนที่ถูกต้อง จะช่วยให้เราวิ่งไม่เหนื่อยเร็ว ...  

ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสำหรับนักวิ่ง

มีงานวิจัยในปัจจุบันได้ทำการศึกษาในนักวิ่งระยะปานกลางและระยะไกล โดยมีรายละเอียดดังนี้ มีประสบการณ์ในการวิ่งตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไป ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ Heavy resistance training / Explosive training / Plyometric training ฝึกเป็นเวลานานมากกว่า 4 สัปดาห์ ผลปรากฏว่านักวิ่งมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ดีขึ้น ดังนี้ ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในการวิ่ง เวลาที่ใช้ในการวิ่ง การใช้พลังงานโดยไม่ใช้ออกซิเจนในช่วงเริ่มวิ่ง รู้แบบนี้แล้ว นักวิ่งทั้งหลายต้องใส่โปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไว้ในตารางฝึกซ้อม โดยในวันนี้เรามีท่าบริหารมาแนะนำทั้งหมด 9 ท่า ดังนี้ Skater squat Side plank clam with band Single leg hamstring slider curl Single leg wall slide Single leg squat Lateral step down Sidelying hip abduction Single leg calf raise Single leg calf raise with knee bend อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ Blagrove RC, Howatson G, Hayes PR. Effects of Strength Training on the Physiological Determinants of Middle- and Long-Distance Running Performance: A Systematic Review. Sports Med. 2018;48(5)...

การวิ่งมีผลต่อผู้หญิงอย่างไร

นักวิ่งหญิงต้องอ่านเลย ข้อมูลที่คัดสรรเพื่อนักวิ่งหญิงโดยเฉพาะ การวิ่งมีผลต่อผู้หญิงอย่างไร ทั้งผลต่อหุ่นสวย ต่อผิวพรรณสว่างกระจ่างใส ต่อจิตใจที่นอยด์ง่ายอย่างพวกเรา มีคำตอบในโพสต์นี้ อ่านแล้วคือดี สวยสตรอง ! แต่ละหัวข้อมีลิงค์ขุดต่อถ้าสนใจ  ■ 1. วิ่งแล้วผิวจะดีขึ้นมาก ต่อเรื่องผิวพรรรณแล้ว ผู้หญิงดูแลเป็นพิเศษ การวิ่งต่อเนื่องครั้งละ 45 นาที ช่วยเรื่องผิวพรรณได้ดีมาก เมื่อร่างกายอุณหภูมิอุ่นขึ้น มีเหงื่ออออก เหงื่อจะช่วยช่วยขับของเสีย สารพิษ และไขมันที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนังออกมา ช่วยชำระให้ผิวพรรณสะอาดจากภายในเลยล่ะ ผิวที่ดูหมองจากสารพิษและไขมัน จะดูเปล่งปลั่งกระจ่างใสขึ้นมาเลย (ที่มา : http://bit.ly/2dacHIj ) ■ 2. วิ่งรับเอนโดฟินน์สารแห่งความสุข นอยด์ อ่อนไหว เปราะบาง สุขภาพจิตถดถอย อารมณ์แปรปรวนง่าย อาร์ทตัวแม่ การวิ่งอย่างน้อย 30 นาทีช่วยให้ผู้หญิงหลั่งสารเอนโดฟินน์สารแห่งความสุข ช่วยสลายความขุ่นมัว  เมื่อทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 4 วัน จะทำให้ปริมาณความเครียดสะสมลดลงอย่างเห็นได้ชัด Worry free กันเลยทีเดียว (ที่มา: http://bit.ly/2tzMauY ) ■ 3. ผู้หญิงวิ่งเร็วช่วงไหน ผลการศึกษาจากส...